สวัสดีคร๊าบบบ …ในบทความตอนที่แล้วเรื่อง เทคนิคการหาหุ้นที่ราคาขึ้นเร็วแต่ลงช้า ตอนที่ 1 ผมได้เกริ่นนำให้รู้จักกับความหมาย ที่มา และลักษณะของหุ้นที่ขึ้นเร็วลงช้า หรือหุ้นที่มี Relative Strength ซึ่งเป็นหุ้นที่น่าจะซื้อเข้ามาอยู่ในพอร์ท เนื่องจากจะทำให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าซื้อหุ้นที่ขึ้นช้าลงเร็ว หรือหุ้นที่มี Relative Weakness

ในตอนที่ 2 นี้ ผมจะมาแนะนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อดูว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นที่มี relative Strength และเทคนิคในการเทรดหุ้นด้วย Relative Strength เราลองมาดูรายละเอียดกันครับ ผมรับรองว่าเด็ดชัวร์!!!

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ Relative Strength

เครื่องมือที่นิยมในการใช้วิเคราะห์ Relative Strength มีอยู่ หลายตัวครับ เช่น Price Ratio , Comparative Relative Strength , % Change , Rate of Change

ในบทความตอนที่ 2 ผมจะแนะนำให้รู้จักกับ Price Ratio และวิธีการวิเคราะห์ Relative Strength ด้วย Price Ratio ส่วนบทความตอนที่ 3 ผมจะแนะนำให้รู้จักกับเครื่องมืออีกตัว คือ Comparative Relative Strength ครับ

Price Ratio

Price Ratio เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการวิเคราะห์ Relative Strength โดยการเอาราคาหุ้นที่เราสนใจหารด้วยดัชนีที่ใช้อ้างอิง ซึ่งถ้าเราจะวัดความแข็งแกร่งของหุ้นไทยก็จะใช้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เป็นตัวอ้างอิง  ดังนั้นเวลาคำนวณ Price Ratio ของหุ้นไทยจะใช้สูตร

Price Ratio = ราคาหุ้นที่สนใจ / ดัชนีตลาดหลักทรัพย์

ค่า Price Ratio เพียงค่าเดียวไม่สามารถให้ข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้เลย แต่วิธีการใช้งาน Price Ratio เราจะดูการเปลี่ยนแปลงของค่า Price Ratio เปรียบเทียบกับค่าของ Price Ratio ในอดีต

ลองมาดูตัวอย่างตารางด้านล่างกันครับผมได้ทดลองคำนวณ Price Ratio ของหุ้น INTUCH และ หาค่าการเปลี่ยนแปลงของ Price Ratio เมื่อเทียบกับ Price Ratio ของเมื่อวานด้วย (วันที่เริ่มต้นอยู่ด้านล่างของตารางคือวันที่ 25 ธันวาคม 2014 ) ซึ่งได้ข้อมูลดังต่อไปนี้ครับ

จากตารางจะเห็นได้ว่าในวันที่ 1)  INTUCH ราคาขึ้นมากกว่า SET  2) INTUCH ราคาลงน้อยกว่า SET  และ3) INTUCH ราคาขึ้น แต่ SET ปรับตัวลง ซึ่งแปลความหมายได้ว่า INTUCH มีความแข็งแกร่งมากกว่า SET ค่าของ Price Ratio จะเพิ่มขึ้น

แต่ในวันที่ 1)  INTUCH ราคาขึ้นน้อยกว่า SET  2) INTUCH ราคาลงมากกว่า SET  และ3) INTUCH ราคาลง แต่ SET ปรับตัวขึ้น ซึ่งแปลความหมายได้ว่า INTUCH มีความแข็งแกร่งน้อยกว่า SET ค่าของ Price Ratio จะลดขึ้น

ข้อสังเกตจากตารางอีกอย่างหนึ่ง คือ Price Ratio มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงแบบสุ่ม สลับกันไปในแต่ละวัน ซึ่งแปลความหมายได้ว่า บางวัน INTUCH ก็แข็งแกร่งกว่า SET บางวัน INTUCH ก็อ่อนแอกว่า SET ทำให้การวิเคราะห์ Price Ratio แบบวันต่อวันไม่สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณา Relative Strength แนวทางในการแก้ไขปัญหาจึงใช้วิธี วิเคราะห์ทิศทางแนวโน้มของกราฟ Price Ratio แทน เพื่อให้มองเห็นภาพของ Relative Strength ในระยะที่ยาวขึ้น

การวิเคราะห์ Relative Strength จากกราฟ Price Ratio

การวิเคราะห์กราฟ Price Ratio สิ่งที่เราจะให้ความสำคัญ คือ ทิศทางแนวโน้มของกราฟ Price Ratio ซึ่งมีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจอันดับแรกก่อน คือ ทิศทางแนวโน้มของกราฟ Price Ratio ไม่ได้บอกถึงทิศทางแนวโน้มของราคาหุ้น แต่จะให้ข้อมูลความแข็งแกร่งเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงช้ากว่าดัชนี SET ทิศทางแนวโน้มของกราฟ Price Ratio ก็จะมีทิศทางเป็นขาขึ้น

ส่วนแนวทางในการแปลความหมายของกราฟ Price Ratio มีวิธีดังต่อไปนี้ครับ

1) ทิศทางแนวโน้มของ Price Ratio เป็นขาขึ้น แปลความหมายได้ว่า หุ้นตัวนั้น เวลาที่ราคาขึ้น จะขึ้นเร็วกว่าตลาด และเวลาที่ราคาปรับตัวลดลง จะลงช้ากว่าตลาด ซึ่งเป็นลักษณะของหุ้นที่มี Relative Strength

2)  ทิศทางแนวโน้มของ Price Ratio เป็นขาลง แปลความหมายได้ว่า หุ้นตัวนั้น เวลาที่ราคาขึ้น จะขึ้นช้ากว่าตลาด และเวลาที่ราคาปรับตัวลดลง จะลงเร็วกว่าตลาด  ซึ่งเป็นลักษณะของหุ้นที่มี Relative Weakness

3) ทิศทางแนวโน้มของ Price Ratio เป็น Sideways หรือเป็นแนวราบ แปลความหมายได้ว่า หุ้นตัวนั้น เวลาที่ราคาขึ้นหรือลงจะขึ้นลงใกล้เคียงกับตลาด

อย่างไรก็ตามมีสิ่งสำคัญที่ผมอยากจะเน้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ Price Ratio คือ การวิเคราะห์ทิศทางแนวโน้มของกราฟ Price Ratrio  เป็นกระบวนการเพื่อใช้ในการเลือกหุ้นที่น่าสนใจเท่านั้น ไม่สามารถให้จังหวะในการซื้อขายได้  ดังนั้นต้องวิเคราะห์กราฟราคาทางเทคนิคของหุ้นตัวนั้น ๆ ก่อนลงมือซื้อขายทุกครั้ง

เทคนิคในการวิเคราะห์กราฟ Price Ratio

จากทิศทางแนวโน้มของกราฟ Price Ratio ที่สามารถเป็นไปได้ทั้งหมด ทั้ง 3 แบบ ถ้าเราต้องการเลือกซื้อหุ้นที่มี Relative Strength เราควรจะเลือกหุ้นที่มีทิศทางของกราฟ Price Ratio เป็นขาขึ้น และหลีกเลี่ยงหุ้นที่มีทิศทางของกราฟ Price Ratio เป็นขาลง

นอกจากนั้นยังมีเทคนิคเพิ่มเติมสำหรับการสร้างความมั่นใจว่า หุ้นที่สนใจมีแนวโน้มราคาอยู่ในทิศทางแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่ง  โดยดูได้จากขณะที่ราคาหุ้นมีการปรับฐาน แต่กราฟของ Price Ratio ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อ ซึ่งแปลว่า ขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง แต่หุ้นตัวนี้ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาด แสดงให้เห็นว่าหุ้นตัวนี้ไม่ค่อยมีแรงขาย

ดังนั้นจึงแนะนำให้สามารถหาจังหวะซื้อหุ้นตัวนี้ขณะที่ราคาปรับตัวลดลง โดยเชื่อว่าการลดลงของราคาเป็นแค่การปรับฐาน ไม่ใช่การเปลี่ยนทิศทางของแนวโน้มจากขาขึ้นเป็นขาลง

ข้อควรระวัง

ข้อควรรระวังในการใช้งานซื้อหุ้นที่มี Relative Strength คือ หุ้นที่แข็งแกร่ง ที่ราคามีการปรับตัวขึ้นมานาน เนื่องจากการเคลื่อนที่ของราคาหุ้นมีลักษณะเป็นวัฏจักรขึ้นและลงสลับกันไป ไม่มีหุ้นตัวไหนที่ราคาขึ้นตล&#