เรื่องที่คุณอยากรู้  แต่ผู้จัดการกองทุนไม่เคยบอก

คอลัมน์ : Investment Idol

บทสัมภาษณ์ คุณสุภาพร ลีนะบรรจง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนตราสารทุน

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงศรี ฯ

สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่คอลัมน์ Investment Idol คร้าบบบ

บทสัมภาษณ์ชิ้นแรกของผม Dr. Nut วันนี้ผมได้รับเกียรติมาสัมภาษณ์ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนตราสารทุน หรือที่เราเรียกว่า ฟันด์เมเนเจอร์ (Fund Manager) ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงศรี ฯ คุณสุภาพร ลีนะบรรจง กันครับ

Dr. Nut: เป็นที่รู้ๆกันครับว่า กองทุนกรุงศรี ฯ นั้น มีมูลค่าทรัพย์สิน หรือ NAV เป็นอันดับต้นๆ ในประเทศ แล้วที่นี่ มีการบริหารจัดการยังไงครับ

คุณสุภาพร : การบริหารกองทุนโดยทั่วไปจะมี 2 แบบค่ะ คือ แบบทีม กับ แบบสตาร์(ผู้จัดการกองทุนคนเดียว) แต่ของที่นี่เป็นแบบทีม คือ จะมีการคุยกันทุกวัน แล้วเลือกหุ้นในตลาดทั้งหมดจาก 500 - 600 ตัวให้เหลือเพียง 80 ตัว และใน 80 ตัวนี้ก็จะนำมาลงในพอร์ตโฟลิโอโมเดล (Portfolio Model)

Dr. Nut: แล้วพอร์ตโฟลิโอโมเดลของที่นี่ แบ่งยังไงหรอครับ

คุณสุภาพร : พอร์ตโฟลิโอโมเดลของที่นี่มีทั้งหมด 3 โมเดลค่ะ

โมเดลแรก เป็นกองทุนรวมหุ้นปันผล หุ้นที่เลือกมาก็จะเป็นหุ้นที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า อัตราการปันผลของตลาด

โมเดลต่อมาเป็นกองหุ้นธรรมดาก็จะเน้นหุ้นที่มีการเติบโตสูง บริษัทที่เลือกมาก็จะเป็นบริษัทที่มีผลกำไรเติบโตตามที่คาดการณ์ และมีราคาที่ถูกกว่าตลาดด้วย

ส่วนโมเดลสุดท้าย เป็นแบบไดนามิกก็จะผสมกันระหว่าง 2 แบบแรก โดยการรวมเอาหุ้นที่มีปันผลดีที่สุด และหุ้นที่มีการเติบโตที่ดีที่สุดมา แต่ก็จะมีความผันผวนสูง เพราะจะเลือกหุ้นมาแค่ประมาณ 10 ถึง 15 ตัวเท่านั้น ซึ่งกองทุนแบบผสมของที่นี่ก็จะเน้นหุ้นเป็นหลัก แล้วนำผสมกับตราสารหนี้ได้ตั้งแต่ 0 ถึง 100% ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของกองนี้ คือ สามารถปรับสัดส่วนให้พร้อมกับทุกสถานการณ์ได้ เพราะกองทุนหุ้นอื่น ๆ ต้องถือหุ้น 95เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปและมีสิทธิ์เบี่ยงเบนได้เพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

Dr. Nut: อย่างนี้ก็เหนื่อยแย่เลยสิครับ หุ้นในตลาดมีตั้งเยอะ ต้องดูทีละตัว แล้วมาคัดให้เหมาะกับแต่ละกอง

คุณสุภาพร : ทางกองทุนKrungsriAM มีทีมงานที่ทำงานร่วมกัน และปฎิบัติตามภาพรวม หรือ กฏเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีการพูดคุย หรือประชุมกันทุกๆเดือน แต่จริงๆแล้วมีการพูดคุยกันทุกวันค่ะ เพราะโต๊ะทำงานอยู่ใกล้กัน เราจึงปรึกษากันเสมอว่า ทำไมเลือกหุ้นตัวนั้น ไม่เลือกหุ้นตัวนี้ และก็มีทีมรีเสิร์ช (Research) อีกประมาณ 4-5 ท่าน ช่วยดูหุ้น และเข้าไปเยี่ยมกิจการ อัพเดทหุ้นใหม่ ๆ ที่จะเข้ามา ดังนั้นทีมทั้งหมดก็มี ประมาณ 9 ถึง 10 คนที่ดูแลอยู่

Dr. Nut: อืม...แบบนี้ทีมรีเสิร์ชเข้าไปเยี่ยมบริษัท บ่อยมั้ยครับ

คุณสุภาพร : ทางเรามีการกำหนดไว้ว่าต้องไปเยี่ยมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปีอยู่แล้ว และมีการติดตามทุก ๆ ไตรมาส พร้อมทั้งทำ forecast (การคาดการณ์ทิศทางหุ้น) ล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 3 ปี แต่สมมุติฐานต่าง ๆ ที่ใช้คำนวณประเมินมูลค่าหุ้น จะเป็นความคิด และการตัดสินใจของเราเอง ไม่ไ้ด้คล้อยตามคำตอบของผู้บริหารบริษัททั้งหมดค่ะ

Dr. Nut: แล้วก่อนที่จะได้ไปเยี่ยมบริษัทจดทะเบียน ทางกองทุนได้หุ้นใหม่ๆ มาพิจารณาจากไหนครับ

คุณสุภาพร : ในทีมก็จะมีการระดมสมองหาหุ้นตัวใหม่ใหม่ๆ ที่เราไม่เคยดู แต่ดูแล้วน่าสนใจ โดยเฉพาะบริษัทที่มีบิสเนสโมเดล (Business Model) เหมือนกับที่มีในต่างประเทศ เพราะเราเห็นว่าเป็นแนวโน้ม และโอกาสที่ดีในการลงทุน โดยเฉพาะบริษัทที่ยังเล็กอยู่ หรืออาจจะหาบริษัทในไทย แล้วนำมาเปรียบเทียบกับหุ้นต่างประเทศ ดูว่าเทรนอะไรกำลังจะมา อย่างไรก็ตามหุ้นที่มีขนาดเล็กมากๆ เราก็อาจจะไม่ได้พิจารณา เพราะว่าเรื่องสภาพคล่องก็เป็นปัจจัยหลักในการลงทุนของกองทุนขนาดใหญ่เหมือนกัน 

Dr. Nut: อย่างนี้ก็เรียกได้ว่าที่นี่ใช้วิธี Bottom-upในการหาหุ้นใช่มั้ยครับ

คุณสุภาพร : ใช่ค่ะ เราเลือกมาจากการทำ Bottom-Up หลังจากที่เราหาบริษัทที่มีพื้นฐานดีได้แล้ว เราก็เข้าไปเยี่ยมบริษัท พูดคุยกับผู้บริหารโดยตรง ยิ่งถ้าเป็นตัวที่เราถืออยู่แล้ว เราก็จะเจอกับผู้บริหารค่อนข้างบ่อย เกือบทุกไตรมาสเลยก็ว่าได้ เพราะเราจะได้มีความมั่นใจในการถือ อย่างบางครั้งหุ้นที่เราถืออยู่มีการปรับตัวลงมาเยอะ แต่เราก็ไม่ได้ขาย เพราะเรารู้ว่ามันลงมา เนื่องจากปัจจัยระยะสั้นเท่านั้น เช่น Fund-Flow ของต่างชาติออกไปก็เป็นได้ แต่ถ้าเป็นระยะยาวแล้ว ถ้าบิสสิเนตโมเดล (Business Model) ของบริษัทไม่ได้เปลี่ยนแปลง หรือความเสี่ยงไม่ได้เพิ่มขึ้นเราก็จะถือหุ้นนั้นต่อ

Dr. Nut: ได้มีการใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) เข้ามาช่วยด้วยมั้ยครับ

คุณสุภาพร : จริงๆแล้วบาง product มีเรื่องของจังหวะซื้อขายเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างทริกเกอร์ฟันด์เราก็จะใช้บ้าง โดยดูจากดัชนีตลาดเป็นหลัก แต่โดยรวมแล้วเราเน้นเลือกหุ้นจากพื้นฐานมากกว่าเทคนิคอล เน้นให้นักลงทุนดูที่พื้นฐานของกิจการมากกว่า และถือได้ยาวด้วย คนทำงานอยู่ก็ไม่ต้องมานั่งเครียดว่าเดี๋ยวหุ้นจะขึ้น หรือจะลง ถ้าหุ้นพื้นฐานดีจะไม่ผันผวนมากอยู่แล้ว

Dr. Nut: มาดูสถานการณ์ปัจจุบันกันบ้างดีกว่าครับ ช่วงนี้เห็นกองทุนได้รับความนิยมมากขึ้น คิดว่าเป็นเพราะอะไรครับ

คุณสุภาพร : อืม..กองทุนที่เริ่มเป็นที่นิยมขึ้นมานั้น มีสาเหตุมาจาก LTF/RMF ของนโยบายรัฐบาล ทำให้กองทุนหุ้นเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ส่วนกองทุนตราสารหนี้ที่เริ่มนิยมกัน ก็เป็นเพราะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากธนาคาร และความเสี่ยงก็ไม่ได้สูงด้วย แน่นอนว่าก็ทำให้คนสนใจกองทุนมากขึ้น

Dr. Nut:  หลายปีที่ผ่านมา