ในหลายวันที่ผ่านมา เราอาจได้ยินข่าวเกี่ยวกับปัญหาของธนาคาร Credit Suisse ที่หลายคนมองว่าลามไป Deutsche Bank หรือแม้แต่มองว่าจะลามไปทั่วโลก

ต้องเข้าใจกันก่อนนะคะว่าทั้งสองธนาคารมีอาการนึงคล้ายกัน นั่น คือ CDS premium แตะ 200 bps ในช่วงเดียวกันราคาหุ้นก็ไหลลงเพราะความกังวลของนักลงทุน ... แต่ต้นตอปัญหาต่างกัน อันนึงเป็นเรื่อง fundamental และค่อนข้างมีความเป็นเหตุเป็นผล (rational) ส่วนอีกอันเป็นเรื่อง perception จากการโยงนู่นนี่นั่นมา ที่ดูเหมือนไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล (irrational)

=====

Credit Suisse เกิดอะไรขึ้น

จริงๆ ปัญหาของแบงค์นี้ยาวนานมาร่วม 15 ปี (ขอไม่เล่านะคะ คนอื่นน่าจะเล่ากันมาเยอะแล้ว)

จากราคาหลักสิบเหลือราคาหลักหน่วยในช่วงปีหลังๆ ที่ผ่านมา

ราคาหุ้นตกลงจาก 3.25 ฟรังก์สวิส เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เหลือเพียง 1.86 ฟรังก์สวิส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 (ราคาลดลง 42.77% ภายใน 6 สัปดาห์)

ถ้าเราไปดูราคา CDS ของ Credit Suisse ซึ่งเป็นค่า premium ที่จะสูงขึ้น หากตลาดเชื่อว่าความเสี่ยงที่ผู้ออกตราสารหนี้จะไม่สามาระชำระคืนหนี้ได้นั้นมีมากขึ้น ...ก็จะเห็นว่าราคา CDS พุ่งขึ้นเรื่อยๆ มาตลอดปี 2022 แม้จะย่อตัวลงช่วงปลายปี แต่กลับมาสูงขี้นอีกครั้งมาตั้งแต่ต้นปี 2023 จนมันทะลุไปแตะ 500 bps

การไหลลงของราคาหุ้นอย่างรวดเร็ว + ราคา CDS พุ่งทะยานเช่นนี้ ส่งสัญญาณว่าธนาคารอาจเจอปัญหาที่รุนแรง ซึ่งธนาคารอาจเกิดความเสี่ยงที่จะประสบภาวะวิกฤต ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ ราคาหุ้นจะไหลลงเรื่อยๆ กระทบต่อความเชื่อมั่นจากผู้ฝากเงินและนักลงทุน

หากมีการแห่กันขายหุ้นทิ้งและถอนเงินออกจากธนาคาร จะเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง

ธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์เลือกเข้าแทรกแซงในช่วงวันหยุด 18-19 มีนาคม 2566 จัดการการควบรวมกิจการโดยให้ UBS ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่อีกแห่งของสวิตเซอร์แลนด์ทำการซื้อกิจการของธนาคาร Credit Suisse เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฝากเงินและนักลงทุน หวังที่จะหยุดยั้งก่อนเกิดวิกฤตจริง

การรับซื้อในราคาที่ต่ำพร้อมเงื่อนไขต่างๆ เช่น การปล่อยให้หุ้นกู้ประเภท CoCos ที่ออกโดยธนาคาร Credit Suisse เป็นหนี้สูญ เนื่องจากเป็นหุ้นกู้คล้ายทุนที่ถือเป็นส่วนทุนสำรองขั้นที่ 1 หรือที่วงการธนาคารเรียกกันว่า AT1 และมีมูลค่าหนี้หุ้นกู้ดังกล่าวสูงถึง 1.6 หมื่นล้านฟรังก์สวิส .... ส่งผลให้ราคาหุ้นหล่นลงในช่วงสุดสัปดาห์นั้น เหลือเพียง 0.68 ฟรังก์สวิส ในวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2566

(เมื่อเทียบกับราคาหุ้น ณ ต้นปี 2566 ราคาหุ้นของธนาคาร Credit Suisse ลดลง 76.55%)

แต่หลังตลาดปรับตัวกับการควบรวมนี้ สถานการณ์ก็เริ่มผ่อนคลาย ช่วยทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 0.76 ฟรังก์สวิส

=====

Deutsche Bank เกิดอะไรขึ้น

ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2566 ที่มีกรณีของธนาคารในสหรัฐฯ ปิดกิจการ ส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าจะมีอีกหลายธนาคารทั่วโลกประสบปัญหาคล้ายกัน และการขายตราสารหนี้ออกมาจำนวนมากของธนาคารสหรัฐเพื่อเสริมสภาพคล่อง ทำให้ราคาตราสารหนี้ในตลาดลดลง

ประจวบกับกรณีหุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคาร Credit Suisse ที่เป็นส่วนทุนสำรองขั้นที่ 1 ถูกปรับให้เป็นหนี้สูญ ทำให้ผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิต่างมีความกังวลว่าอาจไม่ได้เงินคืนหากผู้ออกหุ้นกู้ล้มละลายหรือประสบปัญหาคล้ายธนาคาร Credit Suisse ราคาตราสารหนี้ในตลาดจึงยิ่งปรับตัวลดลง

ทำให้มูลค่าตลาดของหุ้นกู้ส่วนทุนสำรองของหลายๆ ธนาคารอาจได้รับผลกระทบ

ราคาหุ้นของธนาคาร Deutsche Bank ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ในเยอรมนี ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากราคา 11.51 ยูโร ในวันที่ 9 มีนาคม 2566 เหลือ 9.34 ยูโร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 (ลดลง 18.85% ภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์)

พร้อมกับมีสัญญาณความเสี่ยงสูงขึ้น โดยมีการเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวของราคา CDS (ตราสารที่ออกเพื่อประกันเงินไถ่ถอนตราสารหนี้หากผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และสามารถซื้อขายกันเปลี่ยนมือได้) จาก 114 bps มานาน เพิ่มสูงขึ้นเป็น 202 bps

ในวันที่ 24 มีนาคม ธนาคาร ประกาศรับซื้อคืนตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่ออกโดยธนาคารมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่เป็นทุนสำรองขั้นที่ 2 เนื่องจากราคาหุ้นกู้ดังกล่าวตกไปต่ำกว่ามูลค่าไถ่ถอน

ตลาดเกิดความกังวลถึงเหตุผลของการซื้อคืน จึงทำการเทขายหุ้น จนราคาตกลงไปเหลือ 8.54 ยูโร ภายในวันเดียวกัน (ลดลง 8.56% ภายใน 1 วัน)

ในกรณีการซื้อคืนนี้ โดยปกติแล้วไม่ได้แสดงถึงฐานะการเงินที่เปราะบางนะคะ แต่มันกลับแสดงถึงธนาคารมีฐานะทางการเงินที่มีสภาพคล่องสูง เพราะการรับซื้อคืนนั้นหมายถึงธนาคารต้องมีเงินทุนจ่ายคืนให้กับผู้ถือหุ้นกู้ก่อนระยะเวลาไถ่ถอน และอาจเป็นการปรับโครงสร้างทางการเงินของธนาคาร หรืออาจเป็นแค่การรับซื้อเพื่อรักษาราคาหุ้นกู้ของตนไว้ก็เป็นได้

แต่การที่นักลงทุนในตลาดขาดความเข้าใจเกี่ยวกับตราสารทางการเงินและกลไกการทำงานของระบบธนาคารและตราสารหนี้ เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับหุ้นกู้ด้อยสิทธิอีกในช่วง panicking ก็นึกไปถึงเหตุการณ์ของธนาคารในสหรัฐอเมริกาและสวิตเซอร์แลนด์ จนคิดกังวลและตีความผิดพลาด ส่งผลให้ธนาคารได้รับผลกระทบในทางตรงข้ามกับที่ควรจะเป็นในทันที

ถ้าถามตอนนี้ว่าเครดิตของ DBS มีปัญหาจริงมั้ย ก็คงบอกได้แค่ว่าดูจากที่ราคา CDS มันกระโดดขึ้นเร็ว 60 bps ภายในวันเดียว (24 Mar) มันน่าจะเป็นการ speculate บน misperception (อาจจะใช้คำยาก แต่ถ้านึกไม่ออก ให้นึกถึงตอนที่ทุกคนเชื่อว่ามีรางวัลใหญ่ในกล่องสุ่ม แต่จริงๆ แล้วมันไม่มีอยู่จริง แค่คิดว่าซื้อไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันต้องได้... ประมาณนั้นค่ะ)

======

การลงทุนในช่วงนี้จึงมีความผันผวนมาก และควรระมัดระวังในการลงทุน แต่ไม่ควรกังวลจนเกินไป อาจทำให้สร้างปัญหาที่แต่เดิมไม่มีให้มีขึ้นมา และ misperception & speculation ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของวิกฤตการเงินหรือทำให้บริษัทล้มได้เช่นกัน

source of figure: https://www.cnbc.com/quotes/DBCD5